1. บทความจะต้องไม่เคยผ่านการลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน หรือกรณีที่บทความนั้นมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือ พาดพิงกับหน่วยงานหรือองค์กรใด ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากองค์นั้น
  2. บทความอาจเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ เนื้อเรื่องมีความยาวประมาณ 10-15 หน้า (รวมบรรณานุกรม)
  3. ชื่อเรื่อง ไม่ยาวเกินไป แต่ครอบคลุมสาระทั้งเรื่อง ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ
  4. ผู้เขียนบทความทุกคนต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน - ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อเรื่อง - Email และสถานที่ทำงานของผู้เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ Footnote หน้าแรกของบทความ
  5. บทคัดย่อ และ Abstract เป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่อง กรณีบทความวิจัยภาษาไทย ให้เขียนบทคัดย่อภาษาไทย แล้วตามด้วยบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract) และกรณีบทความวิจัยเป็นให้เขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษแล้วตามด้วยบทคัดย่อภาษาไทย ทั้งนี้ บทคัดย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 10 บรรทัด และ Abstract ความยาวไม่ควรเกิน 10 บรรทัด
  6. คำสำคัญต่อท้ายบทคัดย่อ และ Keywords ต่อท้าย Abstract ควรมีไม่เกิน 5 คำ
  7. เนื้อหา ให้จัดพิมพ์ 1 คอลัมน์ 
    ผลงานวิจัย เนื้อหาควรประกอบด้วย 
        -  บทนำ อธิบายถึงความสำคัญและเหตุผลที่ทำการวิจัย รวมทั้งการตรวจเอกสาร (Literature Review) และวัตถุประสงค์ในการตรวจเอกสารนั้น 
        -  วัตถุประสงค์ 
        -  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง/ การทบทวนวรรณกรรม 
        -  วิธีดำเนินการวิจัย 
        -  เครื่องมือและวิธีการ อธิบายเป็นร้อยแก้วถึงอุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ในการทดลอง 
        -  การวิเคราะห์ข้อมูล 
        -  ผลการวิจัยและอภิปรายผลเขียนรวมหรือแยกกันก็ได้ ควรเรียงลำดับเนื้อหา สั้น กะทัดรัด ควรเสนอในรูปตาราง กราฟ หรือภาพ (คำอธิบายตาราง กราฟ อาจจะเป็นภาษาไทย หรืออังกฤษก็ได้) การวิจารณ์ผลการวิจัยเพื่อให้ผู้อ่านเห็นด้วยตามหลักการหรือคัดค้านทฤษฎีที่ มีอยู่เดิมเปรียบเทียบการทดลองของผู้อื่น ตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการวิจัยในอนาคต 
        -  สรุปผลการวิจัย ควรสรุปสาระสำคัญที่ไม่คลุมเครือ และอาจนำการอภิปรายผลมาเขียนในส่วนนี้ได้ 
        -  ข้อเสนอแนะ 
        -  บรรณานุกรม***

  8. หมายเหตุ (ดูรายละเอียดและตัวอย่างเพิ่มเติมในหัวข้อ “การเขียนอ้างอิง”)
    1. รายการอ้างอิงที่เป็นของคนไทยในบรรณานุกรมจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่กัน คือ เรียงบรรณานุกรมภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อนและเติมคำว่า “(in Thai)” ต่อท้าย และตามด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย
    2. การเรียงลำดับรายการอ้างอิงในบรรณานุกรม กรณีมีการแปลรายการอ้างอิงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษให้ยึดตัวอักษรภาษาไทยในการเรียงลำดับ

  9. การอ้างภาพหรือตารางขอให้ใส่ที่มา เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (หากมีการฟ้องร้องจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น) และอ้างอิงเป็นแบบแทรกปนในเนื้อหา (In-text Citation) และการเขียนบรรณานุกรมขอให้เขียนตามรูปแบบของวารสาร BU Academic Review (รูปแบบ APA) http://buacademicreview.bu.ac.th/reference.html โดยเรียงภาษาไทยขึ้นก่อนแล้วตามด้วยภาษาอังกฤษ และเรียงตามลำดับตัวอักษร
  10. การใช้คำศัพท์เฉพาะทางวิชาการ ควรดำเนินการดังนี้
    1. ใช้คำภาษาอังกฤษที่มีใช้ในภาษาไทยอย่างแพร่หลายให้เขียนเป็นภาษาไทยตามหลักการเขียนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเล่มล่าสุด โดยไม่ต้องวงเล็บแสดงภาษาอังกฤษประกอบ เช่น อินเทอร์เน็ต ออนไลน์ เป็นต้น
    2. กรณีคำภาษาอังกฤษยังใช้ไม่แพร่หลายให้เขียนคำแปลหรือเขียนคำอ่านทับศัพท์พร้อมวงเล็บภาษาอังกฤษและอักษรย่อ (ถ้ามี) เช่น เครื่องรับรู้ชีวภาพ (biosensor) ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory Planned Behavior: TPB) การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Based Learning: BBL)
    3. การเขียนคำภาษาอังกฤษในวงเล็บ ควรเขียนในครั้งแรกเพียงครั้งเดียว ไม่ควรวงเล็บคำนั้นไว้ทุกที่ และข้อความหรือคำภาษาอังกฤษที่อยู่ในวงเล็บต้องใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นคำที่จะมีอักษรย่อ หรือคำเฉพาะ
    4. กรณีที่คำที่ใช้มีอักษรย่อภาษาอังกฤษ ให้ระบุคำเต็มและอักษรย่อในครั้งแรก ครั้งต่อไปให้ใช้เพียงอักษรย่อได้ เช่น ครั้งแรกเขียนว่า “ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory Planned Behavior: TPB)” ครั้งต่อมาใช้ TPB เป็นต้น



    หัวข้อ

    บทความภาษาไทย
    TH Sarabun New

    English Articles
    TH Sarabun New

    ขนาด

    ชนิด

    Size

    Font Type

     ชื่อเรื่อง / Title

    22  (CT)

    ตัวหนา

    22  (CT)

    Bold Font

     ชื่อผู้เขียน / Author

    16  (RJ)

    ตัวหนา

    16  (RJ)

    Bold Font

     สถานที่ทำงาน / Affiliations

    14  (RJ)

    ตัวหนา

    14  (RJ)

    Bold Font

     บทคัดย่อ และ Abstract

    15  (RJ)

    ตัวหนา

    15  (RJ)

    Bold Font

     คำสำคัญ / Key words

    15  (RJ)

    ตัวหนา

    15  (RJ)

    Bold Font

      บทนำ / Introduction

    15  (RJ)

    ตัวหนา

    15  (RJ)

    Bold Font

         เนื้อเรื่อง / Article

    15  (LRJ)

    ตัวธรรมดา

    15  (LRJ)

    Regular Fort

         หัวข้อเรื่อง / Item

    15  (RJ)

    ตัวหนา

    15  (RJ)

    Bold Fort

         หัวข้อย่อย / Sub Items

    15  (LJ)

    ตัวหนา

    15  (LJ)

    Bold Font

     บทสรุป / Conclusion

    15  (LJ)

    ตัวหนา

    15  (LJ)

    Bold Font

     บรรณานุกรม / References

    15  (LJ)

    ตัวหนา

    15  (LJ)

    Bold Font


    CT = กึ่งกลาง (Centre Text),  LJ = ชิดซ้าย (Left Justified),  

    RJ = ชิดขวา (Right Justified) และ LRL = ชิดซ้ายและขวา (Left & Right Justified)

  11. กรณีเป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้ผู้เขียนระบุตอนท้ายของหน้าแรกว่า "ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ"
  12. ต้นฉบับสามารถส่งได้ทางระบบออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ (http://buacademicreview.bu.ac.th/submitpaper/sendpaper.php) โดยกองบรรณาธิการจะพิจารณาเบื้องต้น ก่อนนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 2 ท่าน ในการพิจารณาบทความเพื่อประเมินคุณภาพและความเหมาะสม เมื่อผู้เขียนได้รับผลการประเมิน จะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขให้แล้วเสร็จตามกำหนด ซึ่งบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ จึงจะได้การตอบรับการตีพิมพ์ลงในวารสาร BU Academic Review

การส่งบทความ
          เปิดรับผลงานทางวิชาการทั้งจากบุคคลภายในและภายนอกสถาบัน โดยจัดส่งไฟล์ต้นฉบับ พร้อมรูปถ่ายหน้าตรง และประวัติส่วนตัว ผ่านระบบ online submission ที่ http://buacademicreview.bu.ac.th หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ อ.รมณีย์ ยิ่งยง สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท 119 ถ.พระราม 4 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2350 3500 ต่อ 1607, 1774 และ 1775 โทรสาร 0 2350 3693
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-350-3500 # 1607, 1775, 1774 อาจารย์รมณีย์ ยิ่งยง